Bangkok post> Jobs > Career guide

ทำไมคุณจึงควรจัดการพลังของคุณแทนที่จะจัดการกับเวลา

     เมื่อคุณมีงานเพิ่มขึ้น เราก็ต้องทำงานมากขึ้น และทำให้เรามีเวลาน้อยลง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา Lisa Congdon ต้องรับผิดชอบงานราว 5-20 โปรเจกต์ ทั้งในโปแลนด์และรัฐออริกอนในสหรัฐ และปีสุดท้ายในการทำงานของเธอ เธอเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพเนื่องจากความเครียด เช่น อาการเจ็บหลังเรื้อรัง อาการเจ็บที่ต้นคอ และอาการปวดหัว “ฉันต้องตื่นขึ้นมาพร้อมกับความกังวลใจ รู้สึกตึงๆ ที่ท้อง และมีปัญหาเรื่องการนอน” เธอกล่าว

1. ถ้าทำงานน้อยลงจะทำอะไรอย่างอื่นมากขึ้นใช่ไหม?

คนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าวันหนึ่งๆ มีเวลาไม่พอกับสิ่งที่อยากทำ งานที่ควรทำเพียงไม่กี่นาทีก็เพิ่มเป็นชั่วโมง ซึ่งทำให้งานอื่นต้องเสียเวลาไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วจะแก้ไขโดยการนำงานมาทำตอนเย็นหรือวันหยุด จึงทำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เกิดความเครียด และรู้สึกเบื่อหน่ายกับงาน แล้วถ้าทำงานน้อยลงจะทำอะไรอย่างอื่นได้มากขึ้นใช่ไหม?

เมื่อก่อน Congdon มักจะทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าจนถึง 1 ทุ่มโดยไม่หยุด ทำให้ตกหลุมพรางในการพยายามเพิ่มชั่วโมงทำงานเพื่อให้ได้งานมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการทำงานที่มีชั่วโมงทำงานแบบปกติ (9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น) ก็ไม่จำเป็นว่าจะได้งานเพิ่มขึ้นเสมอไป

2. การถูกทำให้หยุดชะงักระหว่างทำงานโดยเฉลี่ยต่อวันราว 87 ครั้ง

สิ่งนี้อาจทำให้ยากต่อการรักษาประสิทธิภาพในการทำงานและจุดมุ่งหมายสำหรับการทำงานตลอดทั้งวัน

Congdon เริ่มปรับแนวทางและโครงสร้างในการทำงานเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์แบบเดียวกันโดยไม่ต้องทำงานตามนาฬิกา เธอจึงแบ่งเวลาการทำงานเป็น 45 นาที และมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด แนวทางในการรักษาจุดมุ่งหมายและการใช้พลังที่น้อยลงช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงาน เธอแบ่งเวลาไปให้การออกกำลังกาย ทำสมาธิ และทำงาน ภายใน 1 วัน เธอเริ่มเครียดน้อยลงและได้ผลงานที่ดีกว่า

3. แนวที่นำไปสู่การได้งานเพิ่มขึ้นก็คือการทำงานทุก 52 นาที ให้หยุดพัก 17 นาที

พนักงาน 10% ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดกลับไม่ใช่คนที่ทำงานยาวนานกว่าคนอื่น แนวทางที่จะนำไปสู่การได้งานเพิ่มขึ้นก็คือการทำงานทุก 52 นาที ให้หยุดพัก 17 นาที ในขณะที่งานของเราเน้นการทำงานแบบ 24/7

โดยปกติแล้วการทำงานหนักเป็นเวลานานอาจจะทำให้ได้งานเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลับมีโอกาสผิดพลาดเพิ่มขึ้น นั่นเป็นผลมาจากการทำงานติดต่อกันมากเกินไป

4. เราควรป้องกันไม่ให้งานมีความสำคัญเหมือนกับนัดหมายของหมอหรือการประชุมสำคัญ

นักวิจัยยืนยันว่าแผนการทำงานประจำวันจะมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อนำไปปฏิบัติ แต่พวกเขาคิดผิด เพราะแผนการทำงานประจำวันมักบั่นทอนกำลังใจในการทำงาน ในการสร้างจุดมุ่งหมายและพลัง เราควรมีเวลาหยุดพัก หรือที่ Newport แนะนำว่า “ให้ขี้เกียจบ้าง ความขี้เกียจไม่เพียงแต่เป็นการพักผ่อนแต่ยังเป็นการทำตามใจตนเอง ซึ่งเป็นเหมือนวิตามินดีในร่างกายที่จำเป็นต่อการได้งานที่มีประสิทธิภาพ"

5. เพื่อให้งานลุล่วงเราก็ต้องใช้สมองแยกแยะสิ่งที่ต้องให้ความสนใจและไม่ให้ความสนใจ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวช เชื่อว่าการเชื่อมโยงที่ขัดกับสามัญสำนึกระหว่างการหยุดพักและประสิทธิภาพของงานอาจเกิดขึ้นเนื่องจากวิธีการที่สมองของเราสั่งการ เมื่อสมองสามารถแยกแยะระหว่างสิ่งที่ต้องให้ความสนใจและไม่ใช้ความสนใจก็มีแนวโน้มที่จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เครดิตโดย: Madeleine Dore

เนื้อเรื่องจาก: www.bbc.com/capital/story/20170612-why-you-should-manage-your-energy-not-your-time