เคล็ดลับในการทำงานเป็นกะ Tips for shift workers
- Published: Jan 26, 2017 16:26
- Writer: นสพ. M2F ฉบับวันที่ 18 ,มกราคม 2560 | 1 viewed
การทำงานตลอด 24 ชั่วโมงกำลังแผ่ขยายมากขึ้น มีคนมากขึ้นที่ทำงานเป็นกะทำให้นาฬิกาชีวิตภายในร่างกายของเราต้องปรับเปลี่ยนตามเวลาทำงานซึ่งปกติถูกกำหนดให้เป็นไปตามวงจรธรรมชาติของกลางวันและกลางคืน การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง
➤ งานอะไรเหมาะสำหรับเรา
การทำงานเป็นกะส่งผลกับแต่ละคนต่างกัน บางคนปรับตัวได้ดี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ส่วนบุคคล ความรับผิดชอบ สมรรถภาพทางกาย และขีดความสามารถในการเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของงาน ขั้นตอนแรก ของการเริ่มต้นทำงานเป็นกะ คือการหาเวลานอนที่ดีที่สุดเพื่อให้สอดคล้องกับตารางเวลา และ รู้สึกสดชื่น ในเวลาเข้ากะ จะดีที่สุดถ้าไม่ทำงานเป็นกะแบบถาวรในเวลากลางคืนและควรจำกัดกะไว้ที่ไม่เกิน 12 ชั่วโมง หากต้องสลับระหว่างกลางวันและกลางคืนให้จัดตารางเพื่อให้มีการนอนหลับอย่างน้อยสองคืนเต็มในระหว่างกะ เพราะนี่คือการทำงานเป็นกะ ซึ่งกระทบต่อการนอนหลับ ซึ่งจะส่งผลต่อ สุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงของการมีปัญหาต่อสุขภาพ
➤ การตื่นนอน
แสงกลางวันโดยปกติทำหน้าที่ส่งสัญญาณตามธรรมชาติไปยังร่างกายมนุษย์ว่าถึงเวลาตื่นนอนได้แล้ว หากทำงานกะกลางคืน นาฬิกาปลุกจะเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ตื่นขึ้นมาทันเวลา เมื่อตื่นขึ้นมาพยายามออกกำลังกายเพื่อช่วยให้รู้สึกมีพลังและพร้อมสำหรับวันทำงาน
➤ การปฏิบัติงานงานในกะ
ขณะปฏิบัติงานในกะ ในที่ทำงานควรมีแสงสว่างที่เพียงพอเพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัว รับประทานอาหารให้เพียงพอในระหว่างวัน ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจำนวนมากเมื่อใกล้เวลานอน พักตามเวลาพักปกติในระหว่างการทำงาน มีการวางแผนการทำงานตลอดระยะเวลาในกะ
➤ การนอนหลับ
หากพบว่ายากที่จะนอนหลับในระหว่างวันควรปฏิบัติดังนี้ ทำอะไรที่สงบ ๆก่อนที่จะ ไปนอน ไม่ออกกำลังกายแบบหักโหมก่อนที่จะเข้านอน รักษาห้องนอนให้เย็นสบายเพื่อช่วยในการนอนหลับ ใช้ผ้าม่านทึบ หรือ มู่ลี่ เพื่อทำให้ ห้องนอนมืด ปิดเสียงโทรศัพท์เพื่อป้องกันการ
➤ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพื่อให้มีสุขภาพดี
รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละห้าวัน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจำกัด พูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวหากเกิดปัญหาในการปรับตัวเข้ากับการทำงานเป็นกะ วางแผนการทำงานบ้านให้ดีเพื่อไม่ให้รู้สึกว่าทำงานไม่ทัน หากปรับตัวไม่ได้ท้ายสุดอาจจะต้องเปลี่ยนงาน