Life Marketing บริหารชีวิตแบบนักการตลาด
- 25 เมษายน 2559 เวลา 18:46 น.
- รายงานข่าวโดย: นสพ. M2F ฉบับวันที่ 25 เมษายน 2559 | 1,894 viewed
การตลาดที่ดีจะผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานก็เช่นกัน หากเรานำทักษะด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการชีวิตด้วยการลองมองตัวเองแบบนักการตลาดด้วย Life Marketing กับหลักพื้นฐาน 4P ไปพร้อมกัน
★ Product สินค้า
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญในชีวิตคือ “ตัวเรา” นักการตลาดที่ดีย่อมเข้าใจว่าสินค้าและบริการที่ดีเกิดจากการดีไซน์สินค้าและการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า ซึ่งเรา สามารถดีไซน์ตัวตนได้โดยการเรียนรู้ วางแผน เตรียมการ และการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงาน (ประสิทธิภาพของสินค้า) การพัฒนาบุคลิกการแต่งกาย (บรรจุภัณฑ์) กลับมาทบทวนอีกครั้งว่าเราได้สร้างสรรค์และพัฒนาสินค้า ชิ้นนี้ให้เหมาะสมก่อนวางจำหน่ายมากน้อยเพียงใด อาทิ ความพร้อมทางวุฒิการศึกษา วุฒิภาวะด้านอารมณ์ การสื่อสาร ภาษา รอยยิ้ม บุคลิกภาพ และความพร้อมด้านสุขภาพร่างกาย
★ Promotion กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย
วิธีการนี้ก็คือเราสามารถทำให้มูลค่าของสินค้าดูคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าจ่ายได้อย่างไร ไม่จำเป็นต้องลดแลกแจกแถม แค่สร้างผลงานที่โดดเด่นเข้าตาลูกค้าก็จะวิ่งเข้าหาเราเอง ดังนั้นการได้รับการโปรโมทจากผลงานจึงถือเป็นโบนัสที่จับต้องได้มากที่สุดนอกเหนือไปจากโบนัสที่เป็นตัวเงิน เพราะนั่นหมายถึงความภาคภูมิใจที่เราได้อดทนทำงาน และสร้างผลงานให้โดดเด่นจนถูกผลักดันไปสู่ก้าวที่สูงขึ้น ภาระที่มากขึ้น และแน่นอนค่าตอบแทนก็ต้องสูงขึ้นด้วย และอีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญก็คือ การนำผลงานและความก้าวหน้าเหล่านี้ใส่ไว้ในพอร์ตโฟลิโอ เมื่อจำเป็นต้องไปก้าวหน้าต่อกับองค์กรอื่นในอนาคต
★ Place ช่องทางการจัดจำหน่าย
วิธีขายหรือกระจายสินค้าที่ทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุดคือ การกระจายสินค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น เราต้องรู้ว่าสินค้าแบบเราควรถูกวางที่ร้านไหน คือองค์กรใดที่จะให้ความสำคัญกับเรา ทำให้เราสามารถโชว์ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ควรดูว่าเรามีความรักในงานนั้นๆ เพียงใด เพราะการทำงานด้วยความรัก สิ่งสำคัญที่เราจะได้นอกจากค่าตอบแทนก็คือ ความสุขในการทำงาน
★ Price ราคา
ของดีไม่จำาเป็นต้องราคาแพง และของแพง ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป หมายความว่า เราไม่จำาเป็น ต้องตั้งราคา (เงินเดือน) ให้สูงเสมอไป หาก พิจารณาแล้วไม่คู่ควร ลองหันกลับมามองตัวเอง อย่างถี่ถ้วนและให้ความเป็นกลางกับผลงาน ฝีมือ ความคุ้มค่าของการทำางานกับค่าตอบแทน ที่ได้รับว่าสมเหตุสมผลกันเพียงใด หาก “ไม่” ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องจัดสรรเวลาเพื่ออัพเกรด สินค้าให้มีราคาที่น่าพอใจมากขึ้น เช่น เพิ่มทักษะ EQ กับการมีมนุษยสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน ทักษะด้านภาษา หรือความคิดสร้างสรรรค์ เพราะสิ่งเหล่านี้คือมูลค่าเพิ่มที่ควรมีเพื่อเป็น แต้มต่อในการวิเคราะห์ตลาดและหาช่องทาง พัฒนาการทำางานของตัวเองให้สอดคล้องกับยุค ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว